วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

ARTICLE

  แนวทางสอนคิด เติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล

                                                 

                                                                                       

           วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็ก ๆ จริงหรือ ? ถ้าเด็ก ๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม ? ควรจะให้เด็ก ๆ อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร ? คำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่แท้จริงแล้ววิทยาศาสตร์คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำ ความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ    
      
ผู้ใหญ่ หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการ ค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิด ที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม
ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย      

          ดร. วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เราคงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็กเพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"  ทั้ง นี้ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้นเป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
       
          ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า"แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็ก ๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่าจะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริง ๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชาเพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"
       " สำหรับปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบ
คือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิดเด็กก็อาจจำไปผิด ๆ ได้"  
         นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้
       
         1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
         2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
         3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์หรือในด้านของเหตุและผล
         4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
         5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์
       
       สำหรับข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไปแต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็ก ๆแต่อย่างใดไม่ เพียงแต่คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับ เด็ก ๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดี ๆ ข้างต้นอาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็ก ๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน "วิทยาศาสตร์" ได้มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ



RESEARCH CONCLUDE

ชื่องานวิจัย = ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
                      การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ กับแบบสืบเสาะหาความรู้

ชื่อผู้วิจัย = วิลา มณีอินทร์,วิไล ทองแผ่,กิรณา เกี๋ยสกุล

ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
       1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย ระหว่างก่อนกับ
หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
       2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยระหว่าง ก่อนกับ
หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
       3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยระหว่างที่ได้รับ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้

ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
บการเรียนรู้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎีการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน โดยตระหนักถึงความเป็นบริบท
ของปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยที่ขาดพื้นฐานประสบการณ์ด้านต่างๆ เด็กปฐมวัยจะสามารถเรียนรู้จากการปฏิบัติได้ดีและนอกจากนี้ผลการวิจัยเกี่ยวกับการจัดประสบการเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้มีผลต่อการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่สูงขึ้น ผู้วิจัยจึงเลือกการจัดประสบการณ์แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้ มาเป็นตัวจัดกระทําให้เกิดกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เพราะการจัดประสบการณ์ทั้ง 2 แบบสามารถเป็นวิธีที่สนองตอบต่อการปูพื้นฐานประสบการณ์ใ ห้เ ด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี

ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
1. เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ของกลุ่มโรงเรียนเก้า
สุพรรณิการ์อําเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มจากจํานวน 15 โรงเรียนจับสลากไว้ 2 โรงเรียน แล้วสุ่มอีกครั้งเพื่อเป็นกลุ่ม
ทดลองที่1 ได้นักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดวังน้ําเย็น จํานวน 28 คน ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ และกลุ่มทดลองที่ 2 ได้นักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดคูบัว จํานวน 22 คน ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

2. เนื้อหาที่ใช้การวิจัย ในครั้งนี้คือ เนื้อหาจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546โดยเน้น
ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สาระที่ควรเรียนรู้ เป็นสาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว และสิ่ง
ต่างๆ รอบตัวเด็ก มีทั้งหมด 4 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง 1)สัตว์ 2) ต้นไม้ 3) อาหาร และ 4) ของเล่น ของใช้

3. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ทําการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ใช้เวลาใน
การทดลองในแต่ละวิธีเป็นเวลา 6 สัปดาห์สัปดาห์ละ4 วัน วันละ 40 นาทีรวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง

4. ตัวแปรที่ใช้ศึกษา ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่
     4.1 ตัวแปรต้น คือ วิธีจัดประสบการณ์การเรียนรู้จําแนกเป็น
             1) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
             2) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
     4.2 ตัวแปรตาม คือ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ด้านทักษะการสังเกต และด้าน
ทักษะการจาแนกประเภท

นิยามศัพท์เฉพาะ
     ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
     การเรียนรู้แบบโครงการ
     การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
      1.1 แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ จํานวน 24 แผน แผนละ 40 นาที
ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดประสบการณ์แบ่งเป็น 3ระยะ ดังนี้ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เป็นการกําหนด
หัวข้อโครงการและกําหนดเรื่องที่จะศึกษามีขั้นตอนการสอน ดังนี้ 1) ครูสังเกต/สร้างความสนใจของเด็ก 2)เด็กกําหนดหัวข้อโครงการ ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการเป็นการกําหนดเรื่องที่จะศึกษา การวางแผนศึกษาหาคําตอบการศึกษาตามแผน และการสรุปข้อความรู้ มีขั้นตอนการสอน ดังนี้ 1) เด็กกําหนดปัญหาที่จะศึกษา2) เด็กวางแผนการศึกษา 3) เด็กดําเนินการศึกษาตามแผนที่วางไว้ 4) เด็กสรุปข้อความรู้ 5) นําข้อความรู้ที่ได้มาเล่นสมมุติ วาดภาพ กิจกรรมสร้างสรรค์ระยะที่3 รวบรวมสรุป เป็นการสรุปรวบรวมผลการศึกษาและนําเสนอผลการศึกษา 1) สรุปข้อความรู้ 2) นําเสนอผลงาน 3) สรุปผลโครงการและกําหนดโครงการใหม่
      1.2 แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ จํานวน 24 แผนละ 40 นาที
ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดประสบการณ์ 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 การตั้งคําถามเชิงวิทยาศาสตร์ขั้นที่ 2
การสํารวจตรวจสอบเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสังเกตสํารวจ สืบค้น หรือทดลอง และบันทึกผลการสํารวจตรวจสอบด้วยวิธีที่เหมาะสมกับวัย ขั้นที่ 3 การตอบคําถามที่ตั้งขึ้นโดยใช้ผลจากการสํารวจตรวจสอบมาสร้างคําอธิบายที่มีเหตุผล ขั้นที่ 4 การนําเสนอผลการสํารวจตรวจสอบด้วยวิธีที่เหมาะสมกับ วัยและความสามารถ
     1.3 แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน มีลักษณะเป็นข้อคําถาม มี
รูปภาพประกอบ แบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือก แบ่งเป็นด้านการสังเกต จํานวน 20 ข้อ ด้านการจําแนกประเภทจํานวน 30 ข้อ รวม 50 ข้อ ใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.813 








บันทึกครึ้งที่  16
วันจันทร์ ที่ 28 เดือนพฤศจิกายน 2559
(เรียนชดเชย)

Knowledge
       
       นักศึกษากลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอการสอน ออกมานำเสนอการสอนที่หน้าชั้นเรียน

หน่วย  อากาศ



หน่วย  รถยนต์



หน่วยดอกไม้



kills
      -  ทักษะวิธีการสอน
      -  ทักษะการวางแผน
      -  ทักษะการเขียนแผน
      
Assessment

Myself
        -  ตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือขณะที่เพื่อนสอน
Classmate
       -  เพื่อนๆตั้งใจเรียนและ ตรงต่อเวลา
       -  ให้ความร่วมมือกับเพื่อนๆที่ออกมาสอน
       -  เพื่อนสนุกกับการสอน
Professor
        -  อาจารย์อธิบายการสอน และคอยเพิ่มเติมส่วนที่ขาดหายไปให้ถูกต้อง


บันทึกครึ้งที่  15
วันจันทร์ ที่ 22 เดือนพฤศจิกายน 2559


Knowledge

         นักศึกษานั่งเป็นกลุ่มตามกลุ่มประดิษฐ์ของเล่นและให้นักศึกษาช่วยกันคิดว่า ของเล่นของแต่ละกลุ่มที่ทำมาสามารถนำมาประยุกตืใช้อะไรได้ในชีวิตประจำวัน

หลอดมหัศจรรย์  =  ตุ๊กตาล้มลุก

    และทบทวนขั้นตอนในการนำเสนอ  ดังนี้
1.  สังเกตอุปกรณ์ว่ามีอะไรบ้าง
2.  ถามว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้าง
3.  สร้างประเด็นปัญหา
4.  สมมติฐาน
5.  ทดลอง
6.  สรุป


Skills
      -  ทักษะการประยุกต์และการนำไปใช้
      -  ทักษะการทำงานเป็นทีม
      -  ทักษะวิทยาศาสตร์
      
Assessment

Myself
        -  ง่วงนอนตลอดเวลา
Classmate
       -  เพื่อนๆตั้งใจเรียน 
       -  ตรงต่อเวลา
   
Professor
        -  อาจารย์มาสอนตรงเวลา   ให้รายละเอียดในการอธิบายงานต่างๆได้เข้าใจง่าย

บันทึกครึ้งที่  14วันจันทร์ ที่ 15 เดือนพฤศจิกายน 2559

Knowledge

       เพื่อนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอการสอนในหน่วยของตนเอง  มีดังนี้
1.  หน่วยผลไม้  
(ชนิดของผลไม้)
   

2.  หน่วยไข่  
(ลักษณะของไข่ )


3.หน่วยต้นไม้  
(ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้)


4.หน่วยปลา  
(ประโยชน์ของปลา)  ทำ Cooking





Skills
      -  ทักษะวิธีการสอนในแต่ละหน่วย
      -  ทักษะการทำงานเป็นทีม
      -  ทักษะวิทยาศาสตร์
      
Assessment

Myself
        -  ตั้งใจฟังที่เพื่อนๆออกมาสอนหน้าชั้นเรียน
        -  ความร่วมมือกับเพื่อนๆเป็นอย่างดี
        -  สนุกสนานในการทำกิจกรรม
Classmate
       -  เพื่อนๆตั้งใจเรียนและ ตรงต่อเวลา
       -  ให้ความร่วมมือกับเพื่อนๆที่ออกมาสอน
       -  เพื่อนสนุกสนาน
Professor
        -  อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลา อธิบายเข้าใจง่าย  ใจดีและสนุกตลอดเวลา

บันทึกครึ้งที่  13
วันจันทร์ ที่ 08 เดือนพฤศจิกายน 2559

Knowledge

           อาจารย์ดูคลิปวิดิโอที่ให้นักศึกษานำไปแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมมาและให้นำเสนอแผนการสอนที่ตนเองได้รับมอบหมายในแต่ละหน่วยมีแนวการสอนอย่างไร

           ซึ่งได้หน่วย การเจริญเติบของต้นไม้  โดยมีแนวการสอน ดังนี้
ขั้นนำ
1.ครูและเด็กร้องเพลงของต้นไม้
2.ครูถามเด็กๆว่าในเพลงของต้นไม้ ว่าปัจจัยที่มีผลต่อเจริญเติบโตอะไรบ้าง (ครูจดบันทึก)
3.ครูถามเด็กๆว่านอกจากปัจจัยที่มีผลต่อเจริญเติบโตในเพลงแล้ว เด็กๆรู้จักปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตต้นไม้อะไรอีกบ้าง (ครูจดบันทึก)
ขั้นสอน
4.ครูแนะนำอุปกรณ์  ดังนี้
   -  ก้นขวดน้ำ
   -  กระดาษทิษชู่
   -  ถั่วเขียว (แช่น้ำก่อน  3-5  ชั่วโมง)
   -  น้ำเปล่า
5.ครูอธิบายขั้นตอนในการเล่น โดย
-.คุณครูสาธิตการปลูกถั่วเขียว
-นำถั่วเขียวใส่ก้นขวดน้ำที่เตรียมใว้
-นำกระดาษทิษชู่วางบนถั่วเขียว
-แล้วเทน้ำให้กระดาษทิษชู่เปียก
-ครูปลูกถั่วเขียวสองขวด
                    -ขวดแรก คือการปลูกโดยอาศัยแสงแดด
                    -ขวดสอง คือการปลูกโดยไม่อาศัยแสงแดด
-ครูทบทวนขั้นตอนการปลูกถั่วเขียวว่านักเรียนเข้าใจหรือไม่
ขั้นสรุป
-ครูและเด็กๆร่วมกันพูดคุยว่าปัจจัยที่มีผลต่อเจริญเติบโตของต้นไม้มีอะไรบ้าง


Skills
      -  ทักษะทางวิทยาศาสตร์
      -  ทักษะการทำงานเป็นทีม
      -  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์
      -  ทักษะในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
Assessment

Myself
        -  การนำเสนอแผนการสอน
Classmate
       -  เพื่อนๆตั้งใจเรียนและ ตรงต่อเวลา
Professor
        -  อาจารย์แนะนำในการเขียนแผนให้สมบูรณ์มากยิ่งขั้น


บันทึกครึ้งที่  12
วันจันทร์ ที่ 01 เดือนพฤศจิกายน 2559

Knowledge

ดูคลิปที่แต่ละกลุ่มไปตัดต่อมา  
                                                               -  หลอดมหัศจรรย์
                                                               -  รถพลังงานลม


                                                             -  คันดีดจากไม้ไอติม
                                                             -  ขวดน้ำนักขนของ


พัฒนาให้ครบกับพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน  คือ
-  ร่างกาย -->  สุขภาพอนามัย  การเจริญเติบโต  การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
-  อารมณ์ -->  ชื่นชมผลงานคนอื่น แสดงออกทางความรู้สึก
-  สังคม  -->  การอยู่ร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบ
-  สติปัญญา  -->  การคิิด  ภาษา

แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาช่วยกันคิดว่าหน่วยของตัวเองบูรณาการเข้ากับรายวิชาไหนได้บ้าง หาทักษะและกระบวนการวิชาการต่างๆ




แผนการสอน    หน่วยต้นไม้ (ประโยชน์ของต้นไม้)
ขั้นนำ
1.ครูและเด็กอ่านคำคล้องจองประโยชน์ของต้นไม้
2.ครูถามเด็กๆว่าในคำคล้องจองประโยชน์ของต้นไม้ มีประโยชน์อะไรบ้าง (ครูจดบันทึก)
3.ครูถามเด็กๆว่านอกจากประโยชน์ของต้นไม้ในคำคล้องจองแล้ว เด็กๆรู้จักประโยชน์ของต้นไม้อะไรอีกบ้าง (ครูจดบันทึก)
ขั้นสอน
4.ครูแนะนำอุปกรณ์  ดังนี้
-รูปภาพประโยชน์ของต้นไม้ที่มีต่อตัวเราและพานิช
-ตารางแยกรูปภาพ
-กล่องใส่รูปภาพ
5.ครูอธิบายขั้นตอนในการเล่น โดย
-.ให้เด็กๆช่วยกันนำรูปภาพในตะกร้าที่เด็กๆคิดว่าเป็นรูปภาพประโยชน์ของต้นไม้ที่มีต่อตัวเรามาติดในช่องตารางที่ครูกำหนดไว้จนครบ
-ครูตรวจสอบว่ารูปภาพที่เด็กนำมาติดถูกต้องหรือไม่  แล้วบอกเด็กๆว่ารูปภาพที่เหลือในตะกร้าคือรูปภาพที่ไม่ใช่ประโยชน์ของต้นไม้ที่มีต่อตัวเรา แล้วนำมาติดที่ช่องไม่ใช่ประโยชน์ของต้นไม้ที่มีต่อตัวเรา หรอเรียกอีกอย่างว่า ประโยชน์ของต้นไม้ที่มีต่อการพานิช
-ครูและเด็กรูปภาพที่นำมาติดในตารางแต่ละช่องพร้อมเขียนตัวเลขกำกับ
-ครูถามเด็กๆว่ารุปภาพในตารางช่องไหนมีจำนวนมากที่สุด โดยใช้วิธีการนับออกครั้งละชิ้นเท่าๆกันจนหมดหากฝั่งไหนเหลือรูปภาพแสดงว่ามีจำนวนรูปภาพมากกว่า
ขั้นสรุป
-ครูและเด็กๆร่วมกันพูดคุยว่าเด็กๆรู้จักประโยชน์ของต้นไม้ว่ามีประโยชน์ต่อตนเองและต่อการพานิชอะไรบ้าง



Skills
      -  ทักษะทางวิทยาศาสตร์ 
      -  ทักษะการทำงานเป็นทีม
      -  ทักษะการแก้ไขปัญหา
      -  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์
      -  ทักษะในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
Assessment

Myself
        -  ตั้งใจฟังและช่วยเพื่อนในกลุ่มคิดงานและทำงานที่ได้รับมอบหมาย
Classmate
       -  เพื่อนๆตั้งใจเรียนและสนุกกับการเรียน
Professor
        -  อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลา และอธิบายได้เข้าใจ มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม การประพฤติการปฏิบัติที่ดี