วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครึ้งที่  5 วันจันทร์ ที่ 6 เดือนตุลาคม 2559           ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนเคลื่อนไหว


Knowledge

อาจารย์ให้นักศึกษาไปดูคลิปวิดิโอที่อาคารห้องสมุดของมหาวิทยาลัยในหัวข้อ อากาศมหัศจรรย์

ลม คือ    อากาศที่เคลื่อนที่ได้
ทำการทดลอง เอากาษติดก้นถ้วยแล้ว แล้วจ่มลงน้ำกระดาษไม่เปียก แสดงว่า ที่กระดาษไม่เปียกนั้น เพราะระหว่างน้ำกับกระดาษ มีอากาศอยู่ตรงกลาง กระดาษถึงไม่เปียกน้ำ
การทดลอง
     1.เติมน้ำใส่ขวด โดนจะเทน้ำป่านกรวย น้ำไหลลงผ่านกรวย
     2.เอาน้ำมาปิดปากกรวย ปรากฏว่า น้ำไหลลงไปในขวดช้า  เพราะ
     3. เอาดินน้ำมันออก น้ำไหลสบายๆ เพราะ อากาศจากในขวดถูกน้ำเข้าไปแทนที่ ส่วนอากาศจะออกไปทางปากขวด ดังนั้น เมื่อเอาดินน้ำมันมาปิดปากขาวอากาศก็ไม่มีทางออก อากาศจึงดันไม่ให้น้ำไหล อากาศไม่มีรูปร่างแต่มีน้ำหนัก

ทดลอง
        ตาชั่ง โดนนำลูกโปร่งมาติดที่ปลายทั้ง 2 ข้าง ปล่อยลม แล้ว ตาช่าง เอียงขึ้นไปทางลูกโป่งที่ปล่อยลม อากาศมีทั้งร้อนและเย็น

ทดลอง
      ตาชั่ง โดยแควนถ้วยกระดาษเปล่า  จากนั้นนำเทียนไขมาจุด แล้วไปจ่อที่ปากถ้วย  ถ้วยที่ไปจ่อ ลอยขึ้นเพราะ อากาศในถ้วยถูกทำให้ร้อนขึ้น เมื่อร้อนขึ้น เมื่ออากาศร้อนอากาศจะมีน้ำหนักเขาลง เหมือนกับ บอนลูน ถ้าอยากให้บอนลูนสูงก็เร่งไฟอากาศร้อนจะมีน้ำหนักเบา กว่าอากาศเย็นเช่น การเป่าฟองสบู่ ฟองสบู่ลอยสูงขึ้น เพราะ อากาศที่เราเป่าออกมามีความร้อน จึงลอยขึ้นสูง
ในอากาศร้อนๆ มีอะไรอีกบ้าง
 ทดลอง
      โหลป่าว 2 ใบ ขวดนึงแช่น้ำร้อน ขวดนึงแช่น้ำเย็น  จากนั้น นำขวดทั้ง2 ใบมาประกบ ขวดร้อนอยู่ข้างล่าง นำกระบดาษแข็งมากั้น นำธูปมาจ่อปากขวด ขวดที่ร้อน ให้ขวัญธูปเข้าไปอยู่ แล้วนำมาประกบ กันเอากระดาษออก ควันธูปลอยขึ้นขวดเย็นทำกลับกัน ขวดเย็นอยู่ล่าง เอาควันธูปใส่ขวดเย็น ปรากฏว่าควันธูปไม่ลอยขึ้นเพราะว่า อากาศจะพยายามประบสมดึลตลอดเวลา อากาศร้อนที่เบากว่าจะลอยไปหาอากาศเย็น  อากาศเย็นจะพยายามประบตัวให้ัวเองอุ่นลงและอากาศร้อนและเย็นเคลื่อนที่ไปมา ทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า ลม

ลมที่พัดมาทำไมถึงเย็น
ทดลอง
       นำตู้กระจกใส ค่อยๆปล่อยควันธูปเข้าไป
ขวัญธูปมีการเคลื่อนไหว เพราะว่า ขวัญธูปที่ร้อนจะลอยขึ้นไปข้างบน ขวัญธูปที่เย็นก็จงลงข้างล่าง
จึงทำให้เกิดลม ซึ่งลมคือ อากาศเย็นที่พัดเข้ามา

         บนพื้นโลกของเราจะมีลมพัดไปมาตลอดเพราะ พื้นโลกมีขนาดความร้อนไม่เท่ากัน  เช่น ทะเล พื้นดินของโลกที่ร้อนจะลอยขึ้นข้างบน ลมทร่มาจาก ไอเย็นของน้ำก็จะพัดเข้ามา
ลมจะเปลี่ยนทิศทางตามแนวของวัตถุ

แรงดันอากาศ คือ แรงที่อากาศกเลงบนพื้นผิววัตถุต่างๆ เช่น แก้วน้ำ ใส่น้ำเต็มแล้ว กระดาษปิดปากแก้ว แล้วคว่ำแก้ว =น้ำไม่หกลงมา เพราะ การที่เติมน้ำจนเต็ม เป็นการใล่อากาศในแก้วจนหมด แรงดันอากาศข้างนอก จึงดันน้ำในแก้วไม่ให้หกลงมา

การทดลองแรงดันอากาศสามารถยกของหนักๆได้
ทดลอง 
     ยกหนังสือหนัก  สอดลูกโป่งใบใหญ่ ใว้ใน้หนังสือ แล้าเป้าูกโป่ง  หนังสือ ก็จะลอยขึ้นเพราะ ใช้หลักของแรงดันอากาศ เมื่ เป่าลูกโป่ง แรงดันในลูกโป่งก็จะเพิ่มมากขึ้นๆๆๆๆๆ

      อาจารย์ให้นำเสนอของเล่นของตนเองมีแนวคิดอย่างไร และให้นักศึกษาอธิบายว่าเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนเคลื่อนไหว

Skills

        -  การวางแผนในการทำงาน 
        -  การคิดอย่างเป็นระบบ แบบแผน
        -  การเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน

Assessment
Myself

        -  ตั้งใจฟัง และทำตามข้อตกลงที่อาจารย์กำหนด
        -  แต่งกายถูกต้อง
        -  มาตรงต่อเวลา

Classmate

        -  เพื่อนๆตั้งใจเรียน
        -  มีความตื่นเต้นที่ได้เจอเพื่อนในวันเปิดเทอม
        -  มาตรงต่อเวลา

Professor

        -  อาจารย์มาตรงเวลา 
        -  อาจารย์กล่าวทักทายนักศึกษาด้วยคำสุภาพนุ่มนวล  

        -  อาจารย์อธิบายและสอนได้ชัดเจน

บันทึกครึ้งที่  4
วันจันทร์ ที่ 30 เดือนสิงหาคม 2559
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกไม้สวยๆการ์ตูน

Knowledge

       อาจารย์ให้นักศึกษาคัดไทย และอธิบายรูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย
  คุณลักษณะตามวัยของเด็ก 3-5  ปี  ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
พุทธศักราช 2546 ดังนี้

เด็กอายุ 3 ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย

  • กระโดดขึ้นลงอยู่กับที่ได้
  • รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
  • เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
  • เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
  • ใช้กรรไกรมือเดียวได้

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

  • แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
  • ชอบจะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและรับคำชม
  • กลัวการพลัดพรากจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง
พัฒนาการด้านสังคม
  • รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
  • ชอบเล่นเเบบคู่ขนาน
  • เล่นสมมติได้
  • รู้จักการรอคอย

พัฒนาการด้านสติปัญญา

  • สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนกันและต่างกันได้
  • บอกชื่อของตนเองได้
  • ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
  • สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องประโยคสั้นๆได้
  • สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
  • ร้องเพลง ท่องคำกลอน คำคล้องจองง่ายๆและแสดงเลียนเเบบท่าทางได้
  • รู้จักใช้คำถาม อะไร
  • สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่ายๆได้
  • อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว

เด็กอายุ 4 ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย

  • กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
  • รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสองข้าง
  • เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
  • เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้
  • ตัดกระดาษตามแนวเส้นตรงได้
  • กระฉับกระเฉงไม่อยู่เฉย

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

  • แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมบางสถานการณ์
  • เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถเเละผลงานตนเองและของผู้อื่น
  • ชอบท้าทายผู้ใหญ่
  • ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ
พัฒนาการด้านสังคม
  • เล่นร่วมกับคนอื่นได้
  • รอคอยตามลำดับก่อนหลัง
  • แบ่งของให้คนอื่น
  • เก็บของเล่นเข้าที่ได้

พัฒนาการด้านสติปัญญา

  • จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้
  • บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
  • พยายามแก้ไขด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
  • สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องเป็นประโยคต่อเนื่องได้
  • สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
  • รู้จักใช้คำถามว่าทำไม

เด็กอายุ 5 ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย

  • กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
  • รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
  • เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
  • เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
  • ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
  • ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี
  • ยืดตัว คล่องเเคล่ว

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

  • แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้เหมาะสม
  • ชื่นชมความสามารถเเละผลงานตนเองและของผู้อื่น
  • ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง

พัฒนาการด้านสังคม

  • ปฎิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
  • เล่นและทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
  • พบผู้ใหญ่รู้จักไหว้ ทำความเคารพ
  • รู้จักขอบคุณเมื่อรับของจากผู้ใหญ่
  • รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

พัฒนาการด้านสติปัญญา

  • บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้สิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้
  • บอกชื่อและนามสกุลและอายุของตนเองได้
  • พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
  • โต้ตอบเล่าเป็นเรื่องเป็นราวได้
  • สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
  • รู้จักใช้คำถามว่าทำไม อย่างไร
  • เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม

      ทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ  ทำการศึกษาทดลองกับสุนัข โดยฝึกสุนัขให้ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการวางเงื่อนไข
ขั้นที่ 1 เสียงกระดิ่ง ไม่มีน้ำลาย ผงเนื้อ  น้ำลายไหล
ขั้นที่ 2 เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล  และผงเนื้อ ทำขั้นที่ 2 ซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง
ขั้นที่ 3 เสียงกระดิ่ง  น้ำลายไหล

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกไม้สวยๆการ์ตูน

Skills

      -ทักษะการคิด วิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ
      -การรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
      -การวางแผนการทำงานเป็นกลุ่ม
     

Assessment
Myself

        -  ตั้งใจเรียน
        - ทำงานตามที่รับมอบหมาย
        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

Classmate

        -  เพื่อนๆตั้งใจทำงานและพูดคุยกันสนุกสนาน
        -  ตรงต่อเวลา
        -  เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย

Professor


        -  อาจารย์สอนสนุกสนาน
        -  มีการสอนที่หลากหลาย
บันทึกครึ้งที่  3
วันจันทร์ ที่ 23 เดือนสิงหาคม 2559


Knowledge

อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทำในห้องเรียนแล้วรวบรวมส่งท้ายชั่วโมง
ในหัวข้อ ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย  จะทำในรูปแบบไหนก้ได้ โดยสรุปตามความเข้าใจ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกไม้สวยๆการ์ตูน


Skills

       -  การคิดวิเคราะ์ข้อมูล 

       -  การคิดอย่างเป็นระบบ 

       -  การเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน

Assessment

Myself

        - ตรงต่อเวลา

        - ตั้งใจเรียน

        - สนุกสนานในการทำงาน

Classmate

        -  เพื่อนๆสนุกกับการเรียน

        -  เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย

        - ตรงต่อเวลา

Professor

        -  อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาทำ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตัวการ์ตูนน่ารักๆ

               บันทึกครึ้งที่  2
วันจันทร์ ที่ 16 เดือนสิงหาคม 2559






Knowledge

     อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1  แผ่น ให้นึกศึกษาทำ  Mind Mapping  เพื่อวัดความรู้เดิมของนักศึกษา หัวข้อคือ  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  

             1.  การจัดประสบการณ์   คือ   การเรียนรู้  การทำกิจกรรม   การเล่น
             2.  วิทยาศาสตร์  คือ  สิ่งรอบตัวเด็ก  การทดลอง  อวกาศ  การสังเกต
             3.  เด็กปฐมวัย  คือ  เด็กเล็ก  พัฒนาการ  การเล่น  การเรียนรู้

        วิทยาศาสตร์  หมายถึง  ทักษะกระบวนการที่ใช้ศึกษาสิ่งต่างๆรอบตัว เป็นการศึกษา สืบค้นหรือแสวงหาโดยให้เหตุผล  อาศัยการสังเกต การทดลอง เพื่อค้นหาความหมายสิ่งที่จะทำให้ได้ซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์
        กระบวนการทางวิทยาศตร์ 
                     1.ตั้งปัญหา
                     2.กระบวนการทดลอง
                     3.การตั้งสมมุติฐาน
                     4.การสังเกต
                     5.การรวบรวมข้อมูล
                     6.สรุป
        พลังงาน
        พลังงาน คือ สิ่งที่ทำให้สิ่งต่างๆเคลื่อนที่ได้ ถ้าไม่มีพลังงาน ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น สิ่งใดก็ตามที่เคลื่อนไหว เติบโต หรือทำงานในทางใดทางหนึ่ง  เช่น
•พลังงานลม ในรูปของพลังงานจลน์ของลม
•พลังงานน้ำ ในรูปของพลังงานศักย์ของน้ำฝนที่ตกลงมา และถูกกักเก็บไว้ในที่สูง
•พลังงานมหาสมุทร ในรูปของพลังงานจลน์ของคลื่นและกระแสน้ำและพลังงานความร้อนในน้ำของมหาสมุทร
•พลังงานชีวมวล ในรูปของพลังงานเคมีของชีวมวล
•พลังงานฟอสซิล ในรูปของพลังงานเคมีของถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ แหล่งพลังงานดังกล่าวนี้อาจกล่าวเป็นอีกนัยว่าเป็นแหล่งพลังงานทางอ้อมของดวงอาทิตย์ก็ได้


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พลังงาน



       แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
1. การเปลี่ยนแปลง (change) ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
2. ความแตกต่าง (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเข้าใจถึงความแตกต่างและความเหมือนของ สิ่งต่างๆ เหล่านั้น โดยอาศัยการสังเกตสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัว
3. การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึง ควรให้เด็กสังเกตถึงธรรมชาติประการนี้จากสิ่งต่างๆ ที่อยู่ รอบตัวเอง
4. การพึ่งพาอาศัยกัน (Maturity) ทุกสิ่งในโลกนี้จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันและกัน
5. ความสมดุล (Equilibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิตและ ปรับตัวให้ได้ดุล และมีความผสมกลมกลืน

        เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1. ความอยากรู้อยากเห็น
2. ความเพียรพยายาม
3. ความมีเหตุผล
4. ความซื่อสัตย์
5. ความมีระเบียบและรอบคอบ
6. ความใจกว้าง

       ความสำคัญทางวิทยาศาสตร์
1. ช่วยพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
2. ช่วยส่งเสริมประสบการณ์ของเด็กให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
3. ช่วยให้เด็กประสบกับความส าเร็จในการเรียน
4. ช่วยสนองตอบต่อความต้องการของเด็กเป็น รายบุคคล
5. ช่วยพัฒนาทักษะทางด้านการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
6. ช่วยให้เด็กรู้จักปฏิบัติให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
7. ช่วยให้เด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน

       ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ต่อเด็กปฐมวัย
1. ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
2. เด็กได้รับประสบการณ์ตรงในชีวิต
3. พัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐาน
4. เพิ่มพูนทักษะการสังเกต
5. เด็กได้มีโอกาสใช้เครื่องมือและวัสดุที่เคยพบเห็น

        ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. ทักษะการสังเกต(Observing)
2. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring)
3. ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
4. ทักษะการพยากรณ์(Predicting)
6. ทักษะการคำนวณ (Using Numbers)
7. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา(Using Space/Time Relationships)
8. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communicating)

Skills

        -  การคิดวิเคราะ์ข้อมูล 
       -  การคิดอย่างเป็นระบบ แบบแผน
       -  การเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน

Assessment

Myself

        - ตรงต่อเวลา
        - ตั้งใจเรียน
        - สนุกสนานในการเรียนหนังสือ

Classmate

        -  เพื่อนๆสนุกกับการเรียน
        -  เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย
        - ตรงต่อเวลา

Professor

        -  อาจารย์ให้นักศึกษาได้ตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็นอยู่เสมอ


บันทึกครึ้งที่  1
วันจันทร์ ที่ 9 เดือนสิงหาคม 2559

Knowledge

  • อาจารย์ได้อธิบายการเรียนการสอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ข้อตกลงในการเรียน การแต่งกายให้เรียบร้อย และมาให้ตรงเวลานัดหมาย
  • อาจารย์ได้มอบหมายงานโดยให้นักศึกษาสร้าง Blogger    
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตัวการ์ตูนน่ารักๆ


Skills

        -  การวางแผนในการทำงาน 
        -  การคิดอย่างเป็นระบบ แบบแผน
        -  การเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน

Assessment
Myself

        -  ตั้งใจฟัง และทำตามข้อตกลงที่อาจารย์กำหนด
        -  แต่งกายถูกต้อง
        -  มาตรงต่อเวลา

Classmate

        -  เพื่อนๆตั้งใจเรียน
        -  มีความตื่นเต้นที่ได้เจอเพื่อนในวันเปิดเทอม
        -  มาตรงต่อเวลา

Professor

        -  อาจารย์มาตรงเวลา 
        -  อาจารย์กล่าวทักทายนักศึกษาด้วยคำสุภาพนุ่มนวล  
        -  อาจารย์อธิบายและสอนได้ชัดเจน