วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกครึ้งที่  6
วันจันทร์ ที่ 13 เดือนสิงหาคม 2559



Knowledge

อาจารย์ให้นักศึกษาคัดลายมือ ก-ฮ หัวกลมตัวเหลี่ยม เพื่อดูนักศึกษาคัดลายมือว่ามีพัฒนาการดีขึ้นหรือไม่





          อาจารย์ให้ดูของเล่นวิทยาศาสตร์ของรุ่นพี่ๆที่ทำไว้ให้ดูเป็นตัวอย่างในการนำไปปรับปรุงของตัวเองให้ดีขึ้น  จากนั้นอาจารย์ก็ได้ถามกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดเงา

เงาคืออะไร

เงา คือ บริเวณที่แสงไม่สามารถส่องผ่านไปถึงหรือส่องไปถึงเพียงบางส่วนเมื่อมีตัวกลางทึบแสงมากั้นระหว่างแหล่งกำเนิดแสงกับฉาก จึงปรากฏเห็นเป็นเงาซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับวัตถุที่มากั้น โดยเราสามารถแยกเงาได้เป็น2 ชนิด คือ
1. เงามืด เป็นบริเวณที่วัตถุทึบแสงขวางทางเดินของแสงและสามารถบังแสงได้ทั้งหมด ทำให้เกิดบริเวณที่มืดสนิท คือการที่แสงสว่างส่องไม่ถึงอีกด้านหนึ่งนั่นเอง
2. เงามัว เป็นบริเวณที่สว่างเพียงเล็กน้อย เป็นเพราะวัตถุทึบแสงไม่สามารถบังแสงได้ทั้งหมด
ส่วนความกว้างของเงามืดและเงามัวนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของแหล่งกำเนิดแสง วัตถุกั้นแสง ฉากรับแสง และระยะห่างของแหล่งกำเนิดแสงกับวัตถุที่กั้นแสง

ประโยชน์ของเงา

มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จากเงาที่เกิดขึ้นได้ ดังนี้
1. ภูมิปัญญาของคนไทยในสมัยโบราณใช้การเกิดเงาในการประกอบอาชีพ เช่น นำไปใช้ในการแสดงหนังตะลุง หรือใช้มือทำให้เกิดเงาเป็นรูปร่างๆ เพื่อประกอบการเล่านิทาน
2. คนไทยในสมัยก่อนอาศัยการสังเกตเงาที่เกิดจากดวงอาทิตย์นำไปใช้ประโยชน์ในการประมาณเวลาได้ เช่น ถ้าเกิดเงาที่ทอดยาวแสดงว่า ขณะนั้นเป็นเวลาเช้าหรือเย็น ถ้าเงาสั้นลง แสดงว่า เป็นเวลาสายหรือบ่ายแต่ถ้าเงาสั้นมากจนเกือบมองไม่เห็นแสดงว่า ขณะนั้นเป็นเวลาเที่ยงวันเนื่องจากดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือศีรษะพอดี

เงากับการเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ

โลก ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ทุกดวงจัดเป็นตัวกลางทึบแสง เมื่อดวงอาทิตย์ส่องแสงมากระทบจึงบังแสงไม่ให้ผ่านไปได้ทำให้เกิดเงามืดหรือเงามัวขึ้นได้ จากความรู้ที่ผ่านมานั้น โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเอง เมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน ทั้งโลกและดวงจันทร์ต่างก็เป็นตัวกลางทึบแสง จึงทำให้เกิดการบังของเงาขึ้นเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า สุริยุปราคาและจัทรุปราคา
- สุริยุปราคา เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลากลางวัน เมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และโลกโคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน มีดวงจันทร์ซึ่งเป็นตัวกลางทึบแสงอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก ดวงจันทร์จึงบังแสงจากดวงอาทิตย์ไม่ให้ส่องผ่านมายังโลก จึงเกิดเงาของดวงจันทร์ทอดมายังโลก ทำให้คนบนโลกที่อยู่ในบริเวณเงามองไม่เห็นดวงอาทิตย์ หรือเห็นไม่เต็มดวง เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า สุริยุปราคา
- จันทรุปราคา เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลากลางคืนช่วงที่ดวงจันทร์เต็มดวง เมื่อดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรอยู่ในแนวเดียวกัน ซึ่งมีโลกอยู่ตรงกลางโลกเป็นตัวกลางทึบแสงและมีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์จะบังแสงจากดวงอาทิตย์ไม่ให้ส่องผ่านไปถึงดวงจันทร์ จึงเกิดเงาของโลกบังดวงจันทร์ได้เต็มดวงเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า จันทรุปราคา



มาตรฐานการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1. 1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2. 1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3. 1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4. 1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 5 พลังงาน
มาตรฐาน ว 5. 1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6. 1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7. 1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2 เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

กิจกรรมต่อมาคืออาจรย์นำของเล่นวิทยาศาสตร์มาเล่นและลองสังเกตการเปลี่ยนแปลง หรือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น

ตุ๊กตาที่วางอยู่หน้ากระจก
                                                               การวางกระจกแบบแคบ



                                                             การวางกระจกแบบกว้าง



การขยับของภาพ






ของเล่นวิทยาศาสตร์เรื่อง สี



Skills
      -  ทักษะการเขียน
      -  ทักษะทางวิทยาศาสตร์
      -  ทักษะการสังเกต

Assessment

Myself
        -  ตั้งใจฟังทำงานที่ได้รับมอบหมาย
        -  สนุกสนานกับการสังเกตของเล่น
Classmate
       -  เพื่อนๆตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายและ ตรงต่อเวลา
Professor
        -  อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลา และนำสื่อต่างๆมาประกอบการสอน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น