RESEARCH CONCLUDE
ชื่องานวิจัย = ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ กับแบบสืบเสาะหาความรู้
ชื่อผู้วิจัย = วิลา มณีอินทร์,วิไล ทองแผ่,กิรณา เกี๋ยสกุล
ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย ระหว่างก่อนกับ
หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยระหว่าง ก่อนกับ
หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยระหว่างที่ได้รับ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้
ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
บการเรียนรู้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎีการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน โดยตระหนักถึงความเป็นบริบท
ของปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยที่ขาดพื้นฐานประสบการณ์ด้านต่างๆ เด็กปฐมวัยจะสามารถเรียนรู้จากการปฏิบัติได้ดีและนอกจากนี้ผลการวิจัยเกี่ยวกับการจัดประสบการเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้มีผลต่อการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่สูงขึ้น ผู้วิจัยจึงเลือกการจัดประสบการณ์แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้ มาเป็นตัวจัดกระทําให้เกิดกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เพราะการจัดประสบการณ์ทั้ง 2 แบบสามารถเป็นวิธีที่สนองตอบต่อการปูพื้นฐานประสบการณ์ใ ห้เ ด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
1. เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ของกลุ่มโรงเรียนเก้า
สุพรรณิการ์อําเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มจากจํานวน 15 โรงเรียนจับสลากไว้ 2 โรงเรียน แล้วสุ่มอีกครั้งเพื่อเป็นกลุ่ม
ทดลองที่1 ได้นักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดวังน้ําเย็น จํานวน 28 คน ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ และกลุ่มทดลองที่ 2 ได้นักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดคูบัว จํานวน 22 คน ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
2. เนื้อหาที่ใช้การวิจัย ในครั้งนี้คือ เนื้อหาจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546โดยเน้น
ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สาระที่ควรเรียนรู้ เป็นสาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว และสิ่ง
ต่างๆ รอบตัวเด็ก มีทั้งหมด 4 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง 1)สัตว์ 2) ต้นไม้ 3) อาหาร และ 4) ของเล่น ของใช้
3. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ทําการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ใช้เวลาใน
การทดลองในแต่ละวิธีเป็นเวลา 6 สัปดาห์สัปดาห์ละ4 วัน วันละ 40 นาทีรวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
4. ตัวแปรที่ใช้ศึกษา ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่
4.1 ตัวแปรต้น คือ วิธีจัดประสบการณ์การเรียนรู้จําแนกเป็น
1) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
2) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
4.2 ตัวแปรตาม คือ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ด้านทักษะการสังเกต และด้าน
ทักษะการจาแนกประเภท
นิยามศัพท์เฉพาะ
ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
การเรียนรู้แบบโครงการ
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1.1 แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ จํานวน 24 แผน แผนละ 40 นาที
ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดประสบการณ์แบ่งเป็น 3ระยะ ดังนี้ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เป็นการกําหนด
หัวข้อโครงการและกําหนดเรื่องที่จะศึกษามีขั้นตอนการสอน ดังนี้ 1) ครูสังเกต/สร้างความสนใจของเด็ก 2)เด็กกําหนดหัวข้อโครงการ ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการเป็นการกําหนดเรื่องที่จะศึกษา การวางแผนศึกษาหาคําตอบการศึกษาตามแผน และการสรุปข้อความรู้ มีขั้นตอนการสอน ดังนี้ 1) เด็กกําหนดปัญหาที่จะศึกษา2) เด็กวางแผนการศึกษา 3) เด็กดําเนินการศึกษาตามแผนที่วางไว้ 4) เด็กสรุปข้อความรู้ 5) นําข้อความรู้ที่ได้มาเล่นสมมุติ วาดภาพ กิจกรรมสร้างสรรค์ระยะที่3 รวบรวมสรุป เป็นการสรุปรวบรวมผลการศึกษาและนําเสนอผลการศึกษา 1) สรุปข้อความรู้ 2) นําเสนอผลงาน 3) สรุปผลโครงการและกําหนดโครงการใหม่
1.2 แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ จํานวน 24 แผนละ 40 นาที
ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดประสบการณ์ 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 การตั้งคําถามเชิงวิทยาศาสตร์ขั้นที่ 2
การสํารวจตรวจสอบเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสังเกตสํารวจ สืบค้น หรือทดลอง และบันทึกผลการสํารวจตรวจสอบด้วยวิธีที่เหมาะสมกับวัย ขั้นที่ 3 การตอบคําถามที่ตั้งขึ้นโดยใช้ผลจากการสํารวจตรวจสอบมาสร้างคําอธิบายที่มีเหตุผล ขั้นที่ 4 การนําเสนอผลการสํารวจตรวจสอบด้วยวิธีที่เหมาะสมกับ วัยและความสามารถ
1.3 แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน มีลักษณะเป็นข้อคําถาม มี
รูปภาพประกอบ แบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือก แบ่งเป็นด้านการสังเกต จํานวน 20 ข้อ ด้านการจําแนกประเภทจํานวน 30 ข้อ รวม 50 ข้อ ใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.813
หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยระหว่าง ก่อนกับ
หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยระหว่างที่ได้รับ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้
ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
บการเรียนรู้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎีการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน โดยตระหนักถึงความเป็นบริบท
ของปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยที่ขาดพื้นฐานประสบการณ์ด้านต่างๆ เด็กปฐมวัยจะสามารถเรียนรู้จากการปฏิบัติได้ดีและนอกจากนี้ผลการวิจัยเกี่ยวกับการจัดประสบการเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้มีผลต่อการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่สูงขึ้น ผู้วิจัยจึงเลือกการจัดประสบการณ์แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้ มาเป็นตัวจัดกระทําให้เกิดกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เพราะการจัดประสบการณ์ทั้ง 2 แบบสามารถเป็นวิธีที่สนองตอบต่อการปูพื้นฐานประสบการณ์ใ ห้เ ด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
1. เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ของกลุ่มโรงเรียนเก้า
สุพรรณิการ์อําเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มจากจํานวน 15 โรงเรียนจับสลากไว้ 2 โรงเรียน แล้วสุ่มอีกครั้งเพื่อเป็นกลุ่ม
ทดลองที่1 ได้นักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดวังน้ําเย็น จํานวน 28 คน ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ และกลุ่มทดลองที่ 2 ได้นักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดคูบัว จํานวน 22 คน ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สาระที่ควรเรียนรู้ เป็นสาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว และสิ่ง
ต่างๆ รอบตัวเด็ก มีทั้งหมด 4 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง 1)สัตว์ 2) ต้นไม้ 3) อาหาร และ 4) ของเล่น ของใช้
3. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ทําการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ใช้เวลาใน
การทดลองในแต่ละวิธีเป็นเวลา 6 สัปดาห์สัปดาห์ละ4 วัน วันละ 40 นาทีรวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
4. ตัวแปรที่ใช้ศึกษา ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่
4.1 ตัวแปรต้น คือ วิธีจัดประสบการณ์การเรียนรู้จําแนกเป็น
1) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
2) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
4.2 ตัวแปรตาม คือ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ด้านทักษะการสังเกต และด้าน
ทักษะการจาแนกประเภท
นิยามศัพท์เฉพาะ
ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
การเรียนรู้แบบโครงการ
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1.1 แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ จํานวน 24 แผน แผนละ 40 นาที
ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดประสบการณ์แบ่งเป็น 3ระยะ ดังนี้ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เป็นการกําหนด
หัวข้อโครงการและกําหนดเรื่องที่จะศึกษามีขั้นตอนการสอน ดังนี้ 1) ครูสังเกต/สร้างความสนใจของเด็ก 2)เด็กกําหนดหัวข้อโครงการ ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการเป็นการกําหนดเรื่องที่จะศึกษา การวางแผนศึกษาหาคําตอบการศึกษาตามแผน และการสรุปข้อความรู้ มีขั้นตอนการสอน ดังนี้ 1) เด็กกําหนดปัญหาที่จะศึกษา2) เด็กวางแผนการศึกษา 3) เด็กดําเนินการศึกษาตามแผนที่วางไว้ 4) เด็กสรุปข้อความรู้ 5) นําข้อความรู้ที่ได้มาเล่นสมมุติ วาดภาพ กิจกรรมสร้างสรรค์ระยะที่3 รวบรวมสรุป เป็นการสรุปรวบรวมผลการศึกษาและนําเสนอผลการศึกษา 1) สรุปข้อความรู้ 2) นําเสนอผลงาน 3) สรุปผลโครงการและกําหนดโครงการใหม่
1.2 แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ จํานวน 24 แผนละ 40 นาที
ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดประสบการณ์ 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 การตั้งคําถามเชิงวิทยาศาสตร์ขั้นที่ 2
การสํารวจตรวจสอบเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสังเกตสํารวจ สืบค้น หรือทดลอง และบันทึกผลการสํารวจตรวจสอบด้วยวิธีที่เหมาะสมกับวัย ขั้นที่ 3 การตอบคําถามที่ตั้งขึ้นโดยใช้ผลจากการสํารวจตรวจสอบมาสร้างคําอธิบายที่มีเหตุผล ขั้นที่ 4 การนําเสนอผลการสํารวจตรวจสอบด้วยวิธีที่เหมาะสมกับ วัยและความสามารถ
1.3 แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน มีลักษณะเป็นข้อคําถาม มี
รูปภาพประกอบ แบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือก แบ่งเป็นด้านการสังเกต จํานวน 20 ข้อ ด้านการจําแนกประเภทจํานวน 30 ข้อ รวม 50 ข้อ ใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.813
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น